Androgenetic Alopecia หรือ ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย เป็นสาเหตุผมร่วมที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ชายและผู้หญิง เราพอจะทราบกันอยู่แล้วว่าทุกคนมีทั้งฮอร์โทนเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งแต่ละคนจะมีความโดดเด่นของฮอร์โมนแตกต่างกัน สัญญาณอาการของภาวะนี้มักเริ่มต้นด้วยผมบางที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดความเครียดสะสมมากขึ้น กระทบต่อสภาพจิตใจและการดำเนินชีวิต สิ่งที่ทุกคนที่มองหาคือวิธีที่จะหยุดการร่วง หยุดความบางของเส้นผม รวมถึงความหวังที่จะให้เส้นผมงอกกลับมาอีกครั้ง
โอกาสในการเกิดผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชายนั้นแตกต่างกันไปตามกลุ่มเชื้อชาติ และอายุที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ความรุนแรงและโอกาสการเกิดเพิ่มขึ้นด้วย ในคนผิวขาว(Caucasian)จะมีโอกาสเจอภาวะผมร่วงชนิดนี้ได้สูงสุด ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 70ปีขึ้นไปนั้นต้องทนกับภาวะนี้ถึง 80% และสูงถึง 42% ในผู้หญิงช่วงอายุเดียวกัน ในผู้ชายมักจะมีสัญญาณเตือนตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและอาการรุนแรงขึ้นตามอายุ ส่วนผู้หญิงจะพบในช่วงวัยรุ่นและวัยหลังหมดประจำเดือน ทางฝั่งของคนไทยหรือคนเอเชียโอกาสเกิดภาวะผมร่วงชนิดนี้น้อยกว่าฝั่งยุโรป ในขณะที่โอกาสพบน้อยจนแทบไม่มีในคนแอฟริกัน
ลักษณะการเกิด Androgenetic Alopecia นั้นเป็นแบบ Non-scaring โดยจะเกิดการลดขนาดลงของรากผมซึ่งพบในทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่จะเกิดและกระจายตัวในรูปแบบที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง โดยมีหลายต้นเหตุประกอบกันรวมไปถึงสาเหตุจากพันธุกรรมหรือ Gene
ในผู้ชายเกิดเนื่องจากภาวะของฮอร์โมนเพศชายโดยตรง (Androgen dependent) รากผมส่วนปลายจะมีความไวต่อฮอร์โมน Dihydrotestosteron หรือ DHT (ดีไฮโดรเทสโทสเตอโรน) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มของฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ระยะเวลาของ Anagen phase หรือระยะเจริญของเส้นผมสั้นลง เข้าสุ่ Telogen phaseซึ่งพร้อมจะหลุดร่วงได้เร็วขึ้น เส้นผมฝ่อเล็กลงจนกลายเป็นเพียงขนอ่อน ในผู้ชายพบว่ามักเป็นภาวะที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ในฝาแฝดแท้จะเกิดได้เหมือนๆกัน และมีความเสี่ยงสูงที่จะพบในลูกชายของคุณพ่อที่ศีรษะล้าน และยังมีปัจจัยของ ยีนส์ (Gene) ที่ควบคุมตัวรับฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (Androgen)และ ยีนส์ในตำแหน่งที่โครโมโซม 20p11
ในผู้หญิงนั้นสาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด เมื่อพิจารณาที่การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่อัตราการเกิดที่ 54% นั้นพบว่า 21% ของผู้หญิงที่มีภาวะผมร่วงจะมีญาติสายตรงลำดับที่1 พ่อ พี่น้องผู้ชาย ถ้าพ่อมีภาวะผมร่วง ลูกสาวมีโอกาสเป็นผมร่วงชนิดนี้ได้มากกว่าในลูกสาวที่มีแม่เป็นภาวะนี้ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้หญิงที่มีภาวะ Androgenic Alopecia นั้น มีความเกี่ยงข้องกับภาวะของฮอร์โมนที่ไม่ปกติ
ลักษณะการแสดงออกของ Androgenetic Alopecia นั้นจะมีการเปลี่ยนจากเส้นผมที่เส้นใหญ่ หนา เล็กลงจนเกิดเป็นขนอ่อน (Vellus hair) และเกิดการหลุดร่วงไปเรื่อยๆอย่างมีรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันในเพศหญิงและเพศชาย มักจะมีการบางลงของเส้นผมบริเวณ ศีรษะด้านข้าง และ บริเวณกลางกระหม่อมด้านหลัง
ในเพศชายมีการกระจายตัวของการหลุดร่วงแบบ Hamilton & Norwood หรือ Male Pattern เป็นการกระจายตัวที่พบสวนมากในเพศชาย พบได้น้อยมากในเพศหญิง โดยผมจะหลุดร่วงที่บริเวณผมด้านหน้า Frontal hair line เว้าเป้นแอ่งด้านข้างจนเกิดลักษณะสามเหลี่ยม ตามมาด้วยการหลุดร่วงของผมที่กลางกระหม่อม (Vertex)
ส่วนในเพศหญิงจะเป็นการกระจายตัวแบบ Ludwig หรือ Female Pattern จะเป็นลักษณะของผมที่บางลงเริ่มที่บริเวณกลางศีรษะ และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่ผมด้านหน้าไม่มีการหลุดร่วง ซึ่งจะพบในบ่อยกว่าการร่วงแบบ Christmas tree โดยพบการบางลงของผมที่กลางศีรษะร่วมกับผมด้านหน้า
การวินิจฉัย Androgenetic Alopecia ใช้ประวัติการการร่วงของผมที่เป็นไปตามรูปแบบ ร่วมกับการตรวจว่าเป็นชนิดไม่มีแผล Non-Scaring การตรวจร่างกายควรทำ Pull test โดยการดึงเส้นผม และดึงเส้นขนที่บริเวณส่วนอื่นของร่างกาย เช่น คิ้ว หนวดเครา ขนตามร่างกาย ดูความผิดปกติของเล็บ เพื่อแยกโรคต่างๆออกไป ตัวอย่างเช่น ผมร่วงแบบ Diffuse Telogen Effluvium, Alopecis Areata เป็นต้น เนื่องจาก Androgenetic Alopecao นั้นเราพบได้บ่อยมาก จึงทำให้มีโอกาสที่เราจะพบภาวะผมร่วงชนิดนี้ขณะที่เป็นภาวะโรคผมร่วงชนิดอื่นได้ ถ้าไม่สามารถแยกโรคได้ด้วยประวัติและอาการแสดง การตรวจเพิ่มเติม เช่น การวัดความหนาแน่นของเส้นผม การตรวจเนื้อเยื่อและการตรวจ Labทางห้องปฏิบัติการ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย
แล้วเรามีวิธีในการดูแลและหยุดผมร่วงชนิดนี้ได้อย่างไร ในปัจจุบัจมีหลากหลายวิธีที่กล่าวถึงการรักษาผมร่วง ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของระยะเวลาการรักษา ตัวยาแบบกิน ทา หรือแบบฉีด จนถึงการผ่าตัดปลูกถ่าย ราคาก็แตกต่างกันไป บางการรักษาราคาสูงมาก ในขณะที่ผลการรักษาก็แตกต่างกันไป บางคนผมไม่ขึ้น บางคนผมขึ้นแต่เส้นเล็กและพร้อมจะหลุดร่วงได้อีกตลอดเวลา หลักการของการรักษาผมร่วงชนิดนี้มี 4 หลักการสำคัญ
1 การหยุดสาเหตุที่ทำให้ร่วง คือต้องหยุดตัวสร้างปัญหา ได้แก่ ฮอร์โมน DHT เพราะ รากผมจะฝ่อลงเมื่อได้รับการกระตุ้นจาก DHT ทำให้หยุดการเจริญเติบโตเข้าสู่ภาวะพร้อมหลุดร่วง
2 การเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ศรีษะ เพื่อให้รากผมได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเพียงพอ อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้ว หากอวัยวะได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอย่อมเกิดความผิดปกติและหยุดทำงาน เช่นเดียวกันกับเส้นผม
3 การให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของเส้นผม ความแข็งแรงร่างกายเริ่มต้นมาจากโภชนกการที่เหมาะสม เส้นผมก็ต้องการเช่นกัน เราหยุดต้นเหตุที่ทำให้ร่วง เราเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่เส้นผม แต่เลือดที่ไป ไม่มีคุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นเส้นผมก็เหมือนกับคนป่วยที่อยู่ได้ด้วยการให้น้ำเกลือแต่ไม่มีทางฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้
4 หยุดพฤติกรรมทำร้ายผมและปรับพฤติกรรมเพื่อชะลอวัย แม้ว่าเราจะผ่านหลักการทั้ง 3ข้อมาแล้ว ร่างกายเราต้องเสื่อมลงด้วยความแก่ เมื่อถึงภาวะนั่นเซลล์ในร่างกายเกิดความเสื่อม ไม่เว้นแต่เซลล์รากผม แม้ไม่สามารถหนีความแก่ได้ แต่เราสามารถชะลอให้ช้าลงได้ ในขณะอายุตามปฏิทินเพิ่มขึ้นทุกๆ1ปี อายุของร่างกายไม่จำเป็นต้องเพิ่มตาม การเลือกอาหารและสารอาหารที่เหมาะสม การพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงปัจจัยทำลายสุขภาพต่างๆ เป็นหนทางสู่การชะลอความเสื่อมของร่างกาย ซึ่งแน่นอนรวมไปถึงเส้นผมของเราด้วย
HSCthailand
• ปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ได้ที่
• Hair Solution Clinic ทุกสาขา
• คลีนิกรักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
• Call Center : 091-989-5353
เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้และความพึงพอใจของการเยี่ยมชมของคุณ เพิ่มความสะดวกในการเรียกดูและทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับคุกกี้ที่จำเป็นซึ่งจำเป็นสำหรับฟังก์ชั่นของเว็บไซต์ เมื่อคลิก “ยอมรับ” จะถือว่าคุณอนุญาตให้เราใช้คุกกี้ทั้งหมดตามนโยบายคุกกี้ของเรา คุณสามารถปรับคุกกี้ของคุณได้ทุกเมื่อในโปรแกรมจัดการคุกกี้ของเรา