รักษาผมร่วง ผมบาง ศรีษะล้าน
ข่าวสารและบทความ
การรักษาผมร่วงจากฮฮร์โมนเพศชาย
28 ก.พ. 2563 17:42 น.

ไมนอกซีดิล Mimoxidil
เดิมทีเดียว Minoxidil พัฒนามาเพื่อเป็นยาลดความดันโลหิต แต่สังเกตพบว่าผู้ที่ได้ยาดังกล่าวมีผมที่ดกดำขึ้น จึงนำมารักษาอาการผมร่วง Androgenetic Alopecia ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แรกเริ่มใช้ในรูปแบบทาที่ความเข้มข้น 2% ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา (FDA approved) เพื่อใช้รักษาในผู้ชายในปี 1988 และใช้รักษาผมร่วงในผู้หญิงในปี 1991 ต่อมาได้อนุญาตให้ใช้ความเข้มข้น 5% รักษาอาการผมร่วงในผู้ชายเมื่อปี 1997 และพัฒนาไปจนมีรูปแบบโฟมในปี 2006


กลไกของ Minoxidil จะเกิดการออกฤทธิ์ได้ต้องได้รับการเปลี่ยนรูปโดยใช้เอนไซม์ซัลโฟทรานเฟอร์เรส (Sulphotranspherase) ซึ่งเราพบเอนไซม์นี้ได้ที่รากผมระยะเจริญ (Anagen Phase) เมื่อได้รับการเปลี่ยนรูปแล้วจะออกฤทธิ์ที่เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมโดยกระตุ้น Cytoprotective prostaglandin synthase-1 และ Hepatocyte growth factor (HGF) m-RNA ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้รากผมเข้าสู่ระยะเจริญหรือ Anagen Phase อีกครั้ง ทำให้ในผู้ป่วยบางรายจะพบว่ามีภาวะผมร่วงมากขึ้นในช่วง 1-2เดือนแรกหลังเริ่มใช้ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นสัญญาณที่ดี เพราะรากผมจะเข้าสู่ Anagen Phase ไม่ได้ หากผมในระยะพักหรือ Telogen Phaseนั้นไม่หลุดร่วงไป ผมที่ร่วงในช่วงแรกนั้นคือ ผมที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกแล้วจึงต้องร่วงไปก่อนที่จะให้เส้นใหม่มาแทนที่ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะหยุดการรักษากลางคันเนื่องจากจะทำให้ผมร่วงมากขึ้น โดยมักจะพบหลังจากหยุดใช้ 3เดือน


ผลข้างเคียงที่ต้องระวังมากกว่าคือ ภาวะขนขึ้นผิดปกติ หรือ Hypertrichosis มักจะเกิดเมื่อใช้ 5% Minoxidil  ทาในบริเวณที่ไม่เหมาะสม เช่น บริเวณใบหน้า ดังนั้นจึงควรระวัง เช่น รอให้แห้งก่อนนอนเรื่องจากสามารถติดที่หมอนและไปสัมผัสใบหน้าได้ แนะนำทาก่อนนอนอย่างน้อย 2ชม. นอกจากนี้ยังสามารถพบการระคายเคืองหรือการอักเสบที่ผิวหนัง แต่พบได้น้อยมากและมักจะเกิดจากส่วนผสมอื่นของยามากกว่าตัวยา  


การรักษาผมร่วงด้วย Minoxidil นั้นสามารถเปลี่ยนผมที่ฝ่อเล็กลงให้กลับมาเจริญจนสมบรณ์ได้ และทำให้รากผลกลับมาเป็นปกติ ในรูปของเซรั่มนั้น ควรใช้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น และทิ้งไว้เอย่างน้อย 4 ชม. และควรล้างมือหลังจากการใช้ทุกครั้ง


Alpha-Reductase-Inhibitors

Androgenetic Alopecia (AGA) เกิดขึ้นหลังเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยรุ่น การตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชสบจะเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวรับที่เส้นผม เราพบว่า AGA จะไม่เกิดในผู้ที่ไม่มีฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) และยังพบว่าจะไม่เกิดในผู้ที่มีความผิดปกติของยีนส์ซึ่งทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ 5-alpha-reductase ชนิดที่2 เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถเปลี่ยน เทสโทสเตอร์โรน(Testsoterone) เป็น ไดไฮโดรเทสโทสเตอร์โรน (Dihydrotesosterone : DHT)ได้ ซึ่งเราพบเอนไซม์ชนิดนี้ได้มากที่ต่อมลูกหมาก ระบบอวัยวะสืบพันธุ์และที่รากผม ส่วนชนิดที่1 พบมากที่ตับ ผิวหนังและหนังศีรษะ


ยา 5-Alpha-Reductase-Inhibitors ที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวนั้น เดิมทีพัฒนาเพื่อใข้รักษาภาวะต่อลูกหมากโต ซึ่งได้แก่ ฟีแนสเตอร์ไรด์ (Fenasteride) ขึ้นทะเบียนที่ยุโรปในปี 1992 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ชนิดที่2 ซึ่งระดับ DHT ได้ 65%g เมื่อวัดระดับใน Serum จากต่อมลูกหมากและหนังศีรษะ ในขณะที่ดูทาสเตอร์ไรด์ (Dutasteride) ขึ้นทะเบียนในปี 2003 จะยับยั้งหมดทั้ง2ชนิด และลดระดับ DHT ได้ถึง 90% ซึ่งต่อมา Fenasteride ได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้รักษาอาการผมร่วง AGA ในปี 1993 ที่สหรัฐอเมริกาและที่ยุโรปในปี 1994 ในทางกลับกัน Dutateride ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนสำหรับรักษาผมร่วงยังคงใช้ในการรักษาต่อมลูกหมากโตเท่านั้น


กลไกการออกฤทธิ์ การรับประทาน Fenasteride ขนาด 1mg. เพียง 1ครั้ง สามารถลดระดับ DHT ได้ถึง 70% เมื่อเทียบกับระดับก่อนรับประทาน และไม่พบภาวะดื้อยาแม้จะใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาการก็ได้ ตัวยาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังรับประทาน เพียง 1-2 ชม.ก็ถึงระดับออกฤทธิ์สูงสุด ฤทธิ์ของยาอยู่ที่ประมาณ 6 ชม. ยาจะถูกขจัดออกที่ตับโดยไม่เกิดผลต่อต้านกับยาตัวอื่น เช่น Wafarin, Theophylline, Digoxine ฯลฯ ไม่แนะนำให้ใช้ในเพศหญิงและห้ามใช้เด็ดขาดในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการแสดงลักษณะเพศหญิงของทารกในครรภ์เพศชาย และผู้ชายที่ได้รับยา Fenasteride ต้องให้ความระมัดระวังในการบริจาคเลือด


ขนาดที่แนะนำ คือ 1mg ต่อวัน แต่มีงานวิจัยที่พบว่าแม้จะได้รับยาในขนาดต่ำเพียง 0.2mg ต่อวัน ก็ยังมีผลทางการรักษาที่ดีกว่าการไม่รับยา ดังนั้นหากลืมรับประทานยา ไม่จำเป้นต้องเพิ่มขนาดยาในวันถัดไป ระยะเวลาในการรักษาพบว่าสามารถหยุดผมร่วงได้ภายในการรักษา 6เดือน และกระตุ้นการงอกของผมใหม่ได้ภายใน 12 เดือน ในผู้ที่รับ Minoxidil หากต้องการเปลี่ยนมาเป็น Fenasteride ไม่ควรหยุดใช้ทันที ควรใช้ร่วมกันก่อน 3-6 เดือน เพื่อรอให้ Fenasteride ออกฤทธิ์เต็มที่ซึ่งจะป้องกันภาวะผมร่วงจากหยุดใช้ Minoxidil แต่มีงานวิจัยที่พบว่าการใช้ Fenasteride 1mg ต่อวัน ร่วมกับ 2% Minoxidil เช้า-เย็น ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว


ผู้ที่รับยา Fenasteride ควรได้รับการแนะนำเกี่ยวกับการติดตามระดับ PSA (Prostate specific antigen) เนื่องจากตัวยาสามารถทำให้ระดับ PSA ลดลงได้ ซึ่งระดับ PSA นั้นใช้ในการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายที่อายุมากกว่า 45ปี  


การผ่าตัดปลูกผม (
Hair Restoration Surgery)
การผ่าตัดปลูกถ่ายผม เป็นวิธีการรักษาบริเวณที่ผมร่วงหมดอย่างชัดเจน สามารถตกแต่งให้สวยงามได้ ผลการรักษาขึ้นกับสภาพของเส้นผมด้านหลังส่วนที่จะนำมาปลูกถ่าย หลักการคือ นำเส้นผมในส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก ฮอร์โมน DHT ซึ่งรากผมในส่วนดังกล่าวจะไม่ฝ่อเล็กลงโดยมากจะเป็นเส้นผมด้านหลังศีรษะ มาปลูกถ่ายบริเวณที่ผมร่วงไปภายใต้การะงับความรู้สึกเจ็บ การผ่าตัดสามารถรักษาในผู้ชายที่ผมร่วงมากกว่า Norwood-Hamilton ระยะที่3ได้ ส่วนในผู้หญิงนั้นจะพิจารณาให้การรักษาในผู้ที่ผมร่วงแบบด้านหน้าและ Ludwig ระยะที่2 โดยไม่มีอาการร่วงของผมเพิ่มเติมหรือไม่ได้มีสาเหตุของผมร่วงอื่น เช่น ภาวะผมร่วงแบบ Telogen effluvium ร่วมด้วย


กระบวนการผ่าตัดนั้นมีหลายขึ้นตอน ผลสำเร็จมาจากความสามารถของแพทย์และทีมผ่าตัดในการทำส่วนปลูกถ่ายหรือกราฟ การเตรียมและการลงมือปลูกถ่ายโดยไม่ทำให้รากผมบอบช้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุดทั้งในบริเวณที่เก็บรากผมและบริเวณที่ทำการปลูกถ่าย ความสวยงามของการปลูกถ่ายขึ้นอยู่กับทักษะของแพทย์และทีม การคัดเลือกผู้รับการรักษา การแผนทั้งการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและการดูแลรักษาหลังผ่าตัด การออกแบบการวางผมที่จะปลูกถ่าย แนวเส้นผม การกระจายตัว ความหนา ทิศทางของเส้นผมที่เหมาะสม และอาจจะต้องรับการผ่าตัดหลายครั้งถึงจะได้ผลที่สมบูรณ์  


Follicular unit transplantation (FUT) กลายมาเป็นมาตรฐานของการผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผมในปัจจุบัน โดยจะการตัดหนังศีรษะออกมาแถบหนึ่ง แล้วเย็บหนังศีรษะเข้าหากัน นำแถบผมที่ได้มาแยกแบ่งผมออกเป็นกอหรือกราฟโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ยังมีวิธีการถอนผมไปปลูก หรือ Follicular unit extraction (FUE) จะทำการเจาะถอนเส้นผมออกมาโดยมนุษย์หรือหุ่นยนต์ (โรบอท: Robot) ก็ได้ จากนั้นจึงนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ ทั้งสองรูปแบบก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป


อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดแล้ว การหยุดการร่วงของผมโดยหลักทั้ง 4 ข้อที่เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ ก็ยังคงมีความจำเป็นเช่นเดิม เพราะการร่วงอาจจะยังคงดำเนินต่อไปได้อีก แม้จะไม่กระทบกับส่วนที่นำมาปลูกถ่ายแต่ในแนวผมหลังจากที่ปลูกถ่ายยังมีโอกาสร่วงต่อได้นั่นเอง มีงานวิจัยที่พบว่าการรักษาร่วมกันระหว่างโดยใช้ Fenasteride 1 mg ต่อวัน หลังรับการผ่าตัดก็ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรับการผ่าตัดอย่างเดียว ถ้าเราพิจารณาตามหลักความเป็นจริง แม้ว่าเราจะสามารถปลูกถ่ายเส้นผมมาใหม่ได้ เส้นผมทั้งหมดนั้นยังคงต้องการการบำรุง ต้องการสารอาหาร และต้องการการดูแลที่เหมาะสมต่อไปนั่นเอง



HSCthailand
• ปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ได้ที่
• Hair Solution Clinic ทุกสาขา
• คลีนิกรักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
• Call Center : 091-989-5353

    กลับหน้ารวม
    อัลบั้มอื่นๆ
    ปกป้องผมเสีย ด้วยเทคนิคการเลือกใช้หวี
    อ่านต่อ
    มาเข้าครัว แก้ไขปัญหาผมกันเถอะ
    อ่านต่อ
    ถัก มัด รวบตึง เสี่ยงผมร่วง
    อ่านต่อ

    เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้และความพึงพอใจของการเยี่ยมชมของคุณ เพิ่มความสะดวกในการเรียกดูและทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับคุกกี้ที่จำเป็นซึ่งจำเป็นสำหรับฟังก์ชั่นของเว็บไซต์ เมื่อคลิก “ยอมรับ” จะถือว่าคุณอนุญาตให้เราใช้คุกกี้ทั้งหมดตามนโยบายคุกกี้ของเรา คุณสามารถปรับคุกกี้ของคุณได้ทุกเมื่อในโปรแกรมจัดการคุกกี้ของเรา